วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าจุงจง ผู้ทรงธรรม

พระเจ้าจุงจง (เกาหลี중종ฮันจา: 中宗MC: Jungjong, MR: Chungchong ค.ศ. 1488 - ค.ศ. 1544) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 11 ของอาณาจักรโชซอน (ค.ศ. 1506 - ค.ศ. 1544



รัฐประหารพระเจ้าจุงจง

พระเจ้าจุงจงประสูติเมื่อค.ศ. 1488 เป็นพระโอรสของพระเจ้าซองจง และพระมเหสีจองฮยอนตระกูลยุน ได้รับพระนามว่า องค์ชายจินซอง (진성대군, 晉城大君) องค์ชายจินซองมีพระเชษฐาต่างพระราชมารดาเป็นองค์ชายรัชทายาทอยู่แล้ว ขึ้นครองราชย์ในค.ศ. 1494 ภายหลังเป็นองค์ชายยอนซัน แต่หลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคัปจา องค์ชายยอนซันทรงประพฤติองค์เหลวแหลกไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมืองจนเกิดกลียุค จนเมื่อค.ศ. 1506 คณะรัฐประหารนำโดย พัควอนจง (박원종, 朴元宗) ซองฮีอัน (성희안, 成希顔) ยูซุนจอง (유순정, 柳順汀) ฯลฯ นำกำลังทหารเข้าบุกยึดพระราชวังคยองบกปลดองค์ชายยอนซังลงจากราชบัลลังก์ และขอคำรับรองจากพระมเหสีจองฮยอน หรือ พระพันปีจาซุน (자순대비, 慈順大妃) ในการยกองค์ชายจินซองขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เหตุการณ์นี้เรียกว่า รัฐประหารพระเจ้าจุงจง (중종반정, 中宗反正)
หลังจากที่พระเจ้าจุงจงทรงขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดวัน ก็เกิดเหตุการณ์ปลดพระมเหสีตระกูลชิน เนื่องจากบิดาของพระมเหสีคือ ชินซูกึน (신수근, 愼守勤) ซึ่งเป็นราชเลขานุการในรัชสมัยขององค์ชายยอนซันและได้ถูกสังหารไปในเหตุการณ์รัฐประหารพระเจ้าจุงจง คณะปฏิวัติเกรงว่าพระมเหสีจะทรงทำการแก้แค้นให้กับพระบิดา จึงปลดพระมเหสีชินออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปนอกวังไปในค.ศ. 1506 (ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้ายองโจจึงได้รับตำแหน่งคืน เป็นพระมเหสีทันกยอง (단경왕후, 端敬王后))

[แก้]

ความพยายามในการปฏิรูป

เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระเจ้าจุงจงก็ทรงมีพระปณิธานจะเยียวยารักษาบ้านเมืองหลังจากกลียุคในรัชสมัยขององค์ชายยอนซัน แต่ทว่าตลอดรัชสมัยนั้นพระเจ้าจุงจงทรงตกอยู่ใต้อำนาจของขุนนางเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดเท่านั้น พระเจ้าจุงจงก็ได้ทรงปูนบำเหน็จแก่คณะปฏิวัติทั้งหลายให้เป็นผู้มีความดีความชอบ เรียกว่า ผู้มีความดีความชอบต่อความสงบของอาณาจักร (정국공신, 靖國功臣) พระราชทานที่ดินและทรัพย์สมบัติให้มากมายรวมทั้งมีอภิสิทธิ์ต่างๆ คณะปฏิวัติผูกขาดตำแหน่งสำคัญระดับสูง ผู้นำคณะปฏิวัติได้แก้พัควอนจง ยูซุนจอง และซองฮีอัน ผลัดกันเป็นอัครเสนาบดี ซึ่งเป็นที่ต่อต้านจากขุนนางฝ่ายซาริม จากสามกรม ซึ่งคอยโจมตีว่าคณะปฏิวัติไม่คู่ควรกับการปูนบำเหน็จและการผูกขาดตำแหน่งระดับสูง[1] และพระเจ้าจุงจงก็ทรงต้องกลายเป็นหุ่นเชิดของคณะปฏิวัติที่นำพระองค์ขึ้นสู่บัลลังก์เอง
ในค.ศ. 1510 โจรสลัดญี่ปุ่นได้ทำการบุกปล้นสะดมอย่างหนักที่เมืองท่าของโจซอน เรียกว่า การปล้มสะดมสามท่าของโจรสลัดญี่ปุ่น (삼포왜란, 三浦倭亂) ได้แก่ ปูซาน เจ และยอม
ในค.ศ. 1515 พระมเหสีตระกูลยุน พระมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าจุงจง สิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติการพระโอรส ได้รับพระนามว่า พระมเหสีชังกยอง (장경왕후, 章敬王后) และเกิดเหตุการณ์ขุนนางท้องที่ซึ่งเป็นฝ่ายซาริมได้ถวายฎีกากล่าวหาคณะปฏิวัติว่าได้ทำร้ายอดีตพระมเหสีตระกูลชิน (폐비 신씨, 廢妃 愼氏) อย่างไม่ยุติธรรมและขอให้พระเจ้าจุงจงคืนตำแหน่งให้แก่อดีตพระมเหสีชิน ฎีกานี้เป็นที่ต่อต้านทั่วไปจากขุนนางในราชสำนักแต่ขุนนางฝ่ายซาริมคนหนึ่ง ชื่อโจกวางโจ (조광조, 趙光祖) ได้ออกมาปกป้องฎีกานี้โดยกล่าวว่ากษัตริย์ควรจะฟังการถวายคำแนะนำของขุนนางหลายๆฝ่าย แม้พระเจ้าจุงจงจะไม่ทรงคืนตำแหน่งแก่พระมเหสีชิน (อภิเษกใหม่กับพระมเหสีตระกูลยุนในค.ศ. 1517 ภายหลังคือพระมเหสีมุนจอง (문정왕후, 文定王后)) แต่พระเจ้าจุงจงก็ทรงประทับใจในความซื่อสัตย์ของโจกวางโจ
พระเจ้าจุงจงทรงไว้วางพระทัยโจกวางโจอย่างมาก ไม่ว่าโจกวางโจจะพูดอะไรพระเจ้าจุงจงก็ทรงเชื่อไปเสียหมด ในค.ศ. 1518 พระเจ้าจุงจงทรงล้มเลิกแผนการปราบชาวนูร์เชนที่วางแผนมานานจากคำประท้วงของโจกวางโจ ทำให้ขุนนางกลุ่มอำนาจเก่าไม่พอใจ โจกวางโจเมื่อมีอำนาจก็ได้นำขุนนางฝ่ายซาริมคนอื่นๆเข้ามาดำรงตำแหน่งระดับสูงแทนที่ขุนนางกลุ่มเก่า ในค.ศ. 1519 โจกวางโจได้เสนอระบบการสอบจอหงวนแบบใหม่ เรียกว่า การสอบเพื่อวัดคุณงามความดี (현량과, 賢良科) เป็นการสอบโดยอาศัยการแนะนำจากขุนนางผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว เพราะโจกวางโจเชื่อว่าการสอบข้อเขียนนั้นไม่อาจวัดความดีของคนได้[2] และที่ร้ายแรงที่สุดคือโจกวางโจได้เสนอให้พระเจ้าจุงจงทรงยกเลิกการปูนบำเหน็จผู้มีความดีความชอบต่อความสงบของอาณาจักรไปเสีย
ขุนนางกลุ่มเก่าจึงไม่อาจอยู่เฉยได้อีกต่อไป ฮงคยองจู นัมกอน (남곤, 南袞) และชิมจอง (심정, 沈貞) จึงวางแผนขับโจกวางโจออกจากอำนาจโดยการให้พระสนมคยองบิน ตระกูลพัค (경빈 박씨, 敬嬪 朴氏 ธิดาบุญธรรมของพัควอนจง) และพระสนมซุกอี ตระกูลฮง (, ธิดาของฮงคยองจู) ปล่อยข่าวในวังว่าราษฎรพากันสนับสนุนโจกวางโจให้เป็นกษัตริย์[3] และขุนนางทั้งสองคนจึงไปกราบทูลยุยงพระเจ้าจุงจงว่าโจกวางโจนั้นเป็นกบฎ พระเจ้าจุงจงก็ทรงเชื่อเพราะสิ่งที่พระองค์เกรงกลัวที่สุดคือการเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดของขุนนางที่มีอำนาจ จึงทรงให้เนรเทศโจกวางโจและพรรคพวกไปที่เมืองนึงจูและประหารชีวิต ขุนนางฝ่ายซาริมทั้งหลายถูกขับออกจากราชสำนักและถูกลงโทษกันต่างๆนานา เรียกว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคีมโย (기묘사화, 己卯士禍)

[แก้]