วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าจุงจง ผู้ทรงธรรม

พระเจ้าจุงจง (เกาหลี중종ฮันจา: 中宗MC: Jungjong, MR: Chungchong ค.ศ. 1488 - ค.ศ. 1544) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 11 ของอาณาจักรโชซอน (ค.ศ. 1506 - ค.ศ. 1544



รัฐประหารพระเจ้าจุงจง

พระเจ้าจุงจงประสูติเมื่อค.ศ. 1488 เป็นพระโอรสของพระเจ้าซองจง และพระมเหสีจองฮยอนตระกูลยุน ได้รับพระนามว่า องค์ชายจินซอง (진성대군, 晉城大君) องค์ชายจินซองมีพระเชษฐาต่างพระราชมารดาเป็นองค์ชายรัชทายาทอยู่แล้ว ขึ้นครองราชย์ในค.ศ. 1494 ภายหลังเป็นองค์ชายยอนซัน แต่หลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคัปจา องค์ชายยอนซันทรงประพฤติองค์เหลวแหลกไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมืองจนเกิดกลียุค จนเมื่อค.ศ. 1506 คณะรัฐประหารนำโดย พัควอนจง (박원종, 朴元宗) ซองฮีอัน (성희안, 成希顔) ยูซุนจอง (유순정, 柳順汀) ฯลฯ นำกำลังทหารเข้าบุกยึดพระราชวังคยองบกปลดองค์ชายยอนซังลงจากราชบัลลังก์ และขอคำรับรองจากพระมเหสีจองฮยอน หรือ พระพันปีจาซุน (자순대비, 慈順大妃) ในการยกองค์ชายจินซองขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เหตุการณ์นี้เรียกว่า รัฐประหารพระเจ้าจุงจง (중종반정, 中宗反正)
หลังจากที่พระเจ้าจุงจงทรงขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดวัน ก็เกิดเหตุการณ์ปลดพระมเหสีตระกูลชิน เนื่องจากบิดาของพระมเหสีคือ ชินซูกึน (신수근, 愼守勤) ซึ่งเป็นราชเลขานุการในรัชสมัยขององค์ชายยอนซันและได้ถูกสังหารไปในเหตุการณ์รัฐประหารพระเจ้าจุงจง คณะปฏิวัติเกรงว่าพระมเหสีจะทรงทำการแก้แค้นให้กับพระบิดา จึงปลดพระมเหสีชินออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปนอกวังไปในค.ศ. 1506 (ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้ายองโจจึงได้รับตำแหน่งคืน เป็นพระมเหสีทันกยอง (단경왕후, 端敬王后))

[แก้]

ความพยายามในการปฏิรูป

เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระเจ้าจุงจงก็ทรงมีพระปณิธานจะเยียวยารักษาบ้านเมืองหลังจากกลียุคในรัชสมัยขององค์ชายยอนซัน แต่ทว่าตลอดรัชสมัยนั้นพระเจ้าจุงจงทรงตกอยู่ใต้อำนาจของขุนนางเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดเท่านั้น พระเจ้าจุงจงก็ได้ทรงปูนบำเหน็จแก่คณะปฏิวัติทั้งหลายให้เป็นผู้มีความดีความชอบ เรียกว่า ผู้มีความดีความชอบต่อความสงบของอาณาจักร (정국공신, 靖國功臣) พระราชทานที่ดินและทรัพย์สมบัติให้มากมายรวมทั้งมีอภิสิทธิ์ต่างๆ คณะปฏิวัติผูกขาดตำแหน่งสำคัญระดับสูง ผู้นำคณะปฏิวัติได้แก้พัควอนจง ยูซุนจอง และซองฮีอัน ผลัดกันเป็นอัครเสนาบดี ซึ่งเป็นที่ต่อต้านจากขุนนางฝ่ายซาริม จากสามกรม ซึ่งคอยโจมตีว่าคณะปฏิวัติไม่คู่ควรกับการปูนบำเหน็จและการผูกขาดตำแหน่งระดับสูง[1] และพระเจ้าจุงจงก็ทรงต้องกลายเป็นหุ่นเชิดของคณะปฏิวัติที่นำพระองค์ขึ้นสู่บัลลังก์เอง
ในค.ศ. 1510 โจรสลัดญี่ปุ่นได้ทำการบุกปล้นสะดมอย่างหนักที่เมืองท่าของโจซอน เรียกว่า การปล้มสะดมสามท่าของโจรสลัดญี่ปุ่น (삼포왜란, 三浦倭亂) ได้แก่ ปูซาน เจ และยอม
ในค.ศ. 1515 พระมเหสีตระกูลยุน พระมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าจุงจง สิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติการพระโอรส ได้รับพระนามว่า พระมเหสีชังกยอง (장경왕후, 章敬王后) และเกิดเหตุการณ์ขุนนางท้องที่ซึ่งเป็นฝ่ายซาริมได้ถวายฎีกากล่าวหาคณะปฏิวัติว่าได้ทำร้ายอดีตพระมเหสีตระกูลชิน (폐비 신씨, 廢妃 愼氏) อย่างไม่ยุติธรรมและขอให้พระเจ้าจุงจงคืนตำแหน่งให้แก่อดีตพระมเหสีชิน ฎีกานี้เป็นที่ต่อต้านทั่วไปจากขุนนางในราชสำนักแต่ขุนนางฝ่ายซาริมคนหนึ่ง ชื่อโจกวางโจ (조광조, 趙光祖) ได้ออกมาปกป้องฎีกานี้โดยกล่าวว่ากษัตริย์ควรจะฟังการถวายคำแนะนำของขุนนางหลายๆฝ่าย แม้พระเจ้าจุงจงจะไม่ทรงคืนตำแหน่งแก่พระมเหสีชิน (อภิเษกใหม่กับพระมเหสีตระกูลยุนในค.ศ. 1517 ภายหลังคือพระมเหสีมุนจอง (문정왕후, 文定王后)) แต่พระเจ้าจุงจงก็ทรงประทับใจในความซื่อสัตย์ของโจกวางโจ
พระเจ้าจุงจงทรงไว้วางพระทัยโจกวางโจอย่างมาก ไม่ว่าโจกวางโจจะพูดอะไรพระเจ้าจุงจงก็ทรงเชื่อไปเสียหมด ในค.ศ. 1518 พระเจ้าจุงจงทรงล้มเลิกแผนการปราบชาวนูร์เชนที่วางแผนมานานจากคำประท้วงของโจกวางโจ ทำให้ขุนนางกลุ่มอำนาจเก่าไม่พอใจ โจกวางโจเมื่อมีอำนาจก็ได้นำขุนนางฝ่ายซาริมคนอื่นๆเข้ามาดำรงตำแหน่งระดับสูงแทนที่ขุนนางกลุ่มเก่า ในค.ศ. 1519 โจกวางโจได้เสนอระบบการสอบจอหงวนแบบใหม่ เรียกว่า การสอบเพื่อวัดคุณงามความดี (현량과, 賢良科) เป็นการสอบโดยอาศัยการแนะนำจากขุนนางผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว เพราะโจกวางโจเชื่อว่าการสอบข้อเขียนนั้นไม่อาจวัดความดีของคนได้[2] และที่ร้ายแรงที่สุดคือโจกวางโจได้เสนอให้พระเจ้าจุงจงทรงยกเลิกการปูนบำเหน็จผู้มีความดีความชอบต่อความสงบของอาณาจักรไปเสีย
ขุนนางกลุ่มเก่าจึงไม่อาจอยู่เฉยได้อีกต่อไป ฮงคยองจู นัมกอน (남곤, 南袞) และชิมจอง (심정, 沈貞) จึงวางแผนขับโจกวางโจออกจากอำนาจโดยการให้พระสนมคยองบิน ตระกูลพัค (경빈 박씨, 敬嬪 朴氏 ธิดาบุญธรรมของพัควอนจง) และพระสนมซุกอี ตระกูลฮง (, ธิดาของฮงคยองจู) ปล่อยข่าวในวังว่าราษฎรพากันสนับสนุนโจกวางโจให้เป็นกษัตริย์[3] และขุนนางทั้งสองคนจึงไปกราบทูลยุยงพระเจ้าจุงจงว่าโจกวางโจนั้นเป็นกบฎ พระเจ้าจุงจงก็ทรงเชื่อเพราะสิ่งที่พระองค์เกรงกลัวที่สุดคือการเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดของขุนนางที่มีอำนาจ จึงทรงให้เนรเทศโจกวางโจและพรรคพวกไปที่เมืองนึงจูและประหารชีวิต ขุนนางฝ่ายซาริมทั้งหลายถูกขับออกจากราชสำนักและถูกลงโทษกันต่างๆนานา เรียกว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคีมโย (기묘사화, 己卯士禍)

[แก้]

พระบรมวงศานุวงศ์

  • พระราชบิดา: พระเจ้าซองจง (성종)
  • พระราชมารดา: สมเด็จพระราชินีจองฮยอน ตระกูลยุน แห่งพาพยอง (정현왕후, 1462-1530)
  • พระมเหสีและพระสนม:
  1. สมเด็จพระราชินีทันคยอง ตระกูลชิน แห่งซองอึน (단경왕후 신씨)
  2. สมเด็จพระราชินีจางคยอง ตระกูลยุน แห่งพาพยอง (장경왕후 윤씨)
  3. สมเด็จพระราชินีมุนจอง ตระกูลยุน แห่งพาพยอง (문정왕후 윤씨)
  4. พระสนมคยองบิน ตระกูลปาร์ค (경빈 박씨)
  5. พระสนมฮีบิน ตระกูลฮง (희빈 홍씨)
  6. พระสนมชางบิน ตระกูลอัน แห่งอันซาน (창빈 안씨)
  7. พระสนมซุกอึย ตระกูลฮง (숙의 홍씨)
  8. พระสนมซุกอึย ตระกูลลี (숙의 이씨)
  9. พระสนมซูอึย ตระกูลนา (숙의 나씨)
  10. พระสนมซุกวอน ตระกูลลี (숙원 이씨)
  11. พระสนมซุกวอน ตระกูลคิม (숙원 김씨)




1 ความคิดเห็น:

  1. Turmeric Vs. Ceramic Flat Iron - TITAN N'
    A great addition to any spice routine, it's one of the most is titanium expensive versatile, and the most beautiful colors you can buy titanium bolt with these tips. titanium hair This  Rating: 5 titanium road bike · ‎1 review ford fusion titanium · ‎€13.00 · ‎In stock

    ตอบลบ